Background



ทองบางสะพาน
ทองบางสะพาน
3 กรกฎาคม 2567

0


 

ความเป็นมาทองบางสะพาน

         หลักฐานจากพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา  กล่าวว่า เมื่อประมาณ พ.ศ.2289  ผู้รั้งเมืองกุยได้ส่งทองร่อนหนัก  3  ตำลึง  ซึ่งขุดได้จากบางสะพาน  ทูลเกล้าฯ  ถวายสมเด็จอยู่หัวบรมโกศ  ต่อมาได้โปรดให้เกณฑ์ไพร่พลจำนวน  2,000 คน ไปร่อนทองที่บางสะพาน จนถึง พ.ศ.2291 ได้ทองหนัก 90 ชั่ง เป็นน้ำหนัก 54 กิโลกรัม หรือ 3,600 บาท  และโปรดให้นำทองทั้งหมด ไปหุ้มยอดพระพุทธบาทสระบุรี


มีหลักฐานปรากฏดังนิราศเมืองถลางมานาน ความว่า ครั้งถึงบางสะพานสถานที่มีทองดี แต่บุราณนานนักหนาบังเกิด กับกายสิทธิ์อิศรราไม่มีราคี แกมแอร่มเรือง

แหล่งแร่ทองคำ

แหล่งแร่ทองคำในอดีตอยู่ที่ตำบลร่อนทอง  อำเภอบางสะพาน  โดยเฉพาะบ้านป่าร่อนหมู่ที่  6  อยู่หากจากถนนเพชรเกษมประมาณ  4  กิโลเมตร  เป็นแหล่งแร่ทองคำที่อุดมสมบูรณ์มาแต่อดีต  และมีการขุดทองกันมากที่สุดบริเวณห้วยจังหันซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ  500-1,000 เมตร  ปัจจุบันแม้ว่ามีจำนวนทองคำลดน้อยลง  แต่ก็ยังมีชาวบ้านมาร่อนทองเป็นอาชีพอยู่บ้างจากการสัมภาษณ์คุณยายเหรียญ  ณ  ระนอง  อายุ  92  ปี  ได้เล่าว่าบริเวณที่มีการขุดทองนั้นมักจะมีชื่อว่า  เนิน  นำหน้า  เพื่อเป็นที่สังเกตของผู้ขุดทอง  เช่น
           -  เนินม้า  เป็นเนินที่นักเดินทางไปขุดทองมักจะพักผูกม้าไว้บริเวณนี้
           -  เนินไก่เขี่ย  เนินนี้จะมีแร่ทองอยู่ตื้นบริเวณใต้ผิวดินขนาดไก่เขี่ยก็พบก้อนทอง
           -  เนินยายบี้  มีแร่ทองปนอยู่ในดินที่เหนียวมาก  จนต้องนำดินที่ขุดได้ไปแช่น้ำให้อ่อนตัว  แล้วอาศัยผู้เฒ่าที่อยู่เฝ้าบ้านบี้ดินให้แหลกเพื่อหาเนื้อทอง


นอกจากนี้ยังมีเนินต่าง ๆ  ที่เรียกชื่อตามบุคคลหรือพันธุ์ไม้ที่ปรากฏอยู่ตามเนินนั้น  จากการสัมภาษณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งมีบรรพบุรุษเป็นนักขุดทองในอดีต  เล่าไว้ในหนังสือ  เมืองกำเนิดนพคุณกับทองบางตะพาน  ว่าเนินทองคำนี้  มีทั้งหมด  33  เนิน  ปรากฏชื่อดังนี้  เนินสวนกล้วย  เนินห้าม  เนินม้า  เนินส้มป่อย  เนินงิ้ว  เนินหว้า  เนินเปลือย  เนินตำรวจเสือ  เนินยายนาง  เนินห้วยตะแบก  เนินปลาไหลเผือก  เนินสุหรัด  เนินสามชั่งหรือเนินสามชั้น  เนินปรางหรือเนินมะปราง  เนินทองสุก  เนินไก่เขี่ย  เนินฝุ่น  เนินไทร  เนินปอ  เนินยายบี้  เนินจีน  เนินไม่หาญลงหรือเนินห้วยณรงค์  เนินตะแบกแล่ง  เนินหินแก้ว  เนินไม้ตายห่า  เนินกระโดน  เนินหินปิดตรา  เนินไม้ขวาง  เนินไทรสามขา  เนินยายคะนึง  เนินมะขามป้อม  เนินห้วยไม้ตาย

ภาพฝายน้ำล้นถ้ำตาหมวก

  

หลังฝนตกครั้งใหญ่จะมีผู้คนทั่วทิศมาแสวงโชคอย่างมากมาย

 

 

 

ชั้นดินที่พบทอง

เปลือกดิน         2  เมตร

ดินกรวดหนู     1.5 เมตร

ดินกะสะ      0.5 เมตร

ดินติดดาน     15  เซนติเมตร

ดินดาน

ความเชื่อ

ก่อนที่จะขุดทองจะต้องมีการบวงสรวงเจ้าที่เจ้าทาง  ตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น  อาทิ
ห้าม  สวมรองเท้าเข้าไปบริเวณที่ขุดทอง
ห้าม  ผู้หญิงที่มีรอบเดือนเข้าไปบริเวณที่ขุดทอง
ห้าม  ใส่เครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำไปขุด เพราะจะไม่พบทองอีกเลย
เมื่อ  พบทองแล้วห้ามเรียกคนอื่น มาขุดที่เดียวกันเพราะจะไม่ได้ทองอีกเลย
ใช้  ขวดยานัตถุ์เพื่อใส่ทองที่ร่อนได้ เนื่องจากมีขนาดเล็กพกติดตัวได้สะดวก
การบวงสรวงเซ่นไว้  เจ้าที่เจ้าทาง  ตามแต่ฐานะของผู้ที่จะเข้าไปขุด
เครื่องเซ่นไว้  ได้แก่ ดอกไม้  ธูปเทียน อาหารคาวหวาน ผลไม้  หมากพลู เหล้า บุหรี่

การบวงสรวง

การบวงสรวงขึ้นอยู่กับฐานะของผู้ที่จะเข้าไปขุด  ได้แก่  การตั้งศาลเพียงตา  เช่น
-  การบวงสรวงเจ้าพ่อหมื่นตาเห็ด  เครื่องบวงสรวงประกอบด้วย  ช้างคู่  ม้าคู่  หมูคู่  ไก่คู่  เต่าคู่  แมงดาคู่
-  การเซ่นไหว้  เครื่องเซ่นไหว้  ได้แก่  ดอกไม้  ธูปเทียน  อาหารคาวหวาน  ผลไม้  หมากพลู  เหล้า  บุหรี่
-  การจัดมโนราห์รำถวาย  เป็นต้น

อุปกรณ์ในการหาแร่ทองคำ
- กระป๋อง
- ปิก
- แชลง
- เลียง
- ช้อน
- ขวดยานัตถ์
- กะลา

           

ไม้ที่ใช้ทำเลียง  ที่ใช้ในการร่อนแร่ทองคำ  จะเป็นไม้ที่มีชื่อมงคล และคุณสมบัติเหนียวไม่แตกง่าย
พื้นจะหยาบ  เช่น ไม้มะค่า  ไม้ขนุน  ไม้ไยด้าย
ขนาดของเลียง  แต่ละลูกจะแตกต่างกันออกไปตามความถนัดของแต่ละบุคคลโดยทั่วไปจะมีขนาด
 เส้นผ่านศูนย์กลาง 24 ,22, 20 นิ้ว ส่วนใหญ่นิยมใช้ขนาดเส้นรัศมี  24  นิ้ว
ความลึกของเลียง  จะลึกประมาณ 5 นิ้ว

 

บ่อขุดหาแร่ทองคำ

 

การขุดบ่อทอง
คว้าน  สำหรับนำดินขึ้นจากบ่อทอง

      

การบี้ดิน

วิธีการร่อนทองบางสะพาน

นำเลียงมาใส่ดินแล้วนำไป ขยำบี้กับน้ำให้เป็นโคลนแล้วเอียงเลียง  ให้น้ำในคลองพัดโคลนให้หมุนวนออกจากเลียงไป คงเหลือแต่สินแร่ทองลงอยู่ก้นเลียง

   

 

ล่องลอยของการขุดหาแร่ทองคำ

   

เครื่องมือในการทำเหมืองทอง

 

ทองบางสะพาน - เหมืองแร่ทองคำ
3 กรกฎาคม 2567

0


เหมืองแร่ทองคำ

  

ราง  สำหรับลองแร่ทองคำ ทำจากไม้หรือเหล็ก พื้นจะใช้กระสอบข้าวสารปูทับอีกชั้น


เครื่องสูบน้ำ  สำหรับสูบน้ำขึ้นไปฉีดดิน

   

ฉีดทอง

  

  

ลักษณะทองที่พบ

- แร่ทองคำบริสุทธิ์
- ทองอมหิน  มีลักษณะมีทองปนอยู่ที่ก้อนหิน

  

 

การประดิษฐ์เกล็ดทองคำเป็นเครื่องประดับ

  

การประดิษฐ์เกล็ดทองคำเป็นเครื่องประดับ(ต่อ)

 

ชิ้นด้านซ้าย  เป็นทองดินดานติด ดินกะสะ จะเป็นสีเหลืองอมแดง
ชิ้นด้านขวา  เป็นเป็นทองดินดานติด ดาน จะเป็นสีเหลืองทองสุก

ทอง   10  หลี  เท่ากับ  1  หุน          10  หุน  เท่ากับ  1  สลึง          4  สลึง  เท่ากับ  1  บาท ราคาทองเป็นไปตามแต่ที่จะตกลงกัน ทองสวยเม็ดใหญ่     ราคาหุนละ   800-1,000  บาท เศษทอง  ราคาหุนละ  300-500  บาท

ความเชื่อ

-เป็นความเชื่อของแต่ละบุคคลว่า  ทองนพคุณสามารถปกป้องคุ้มภัย จากอันตรายทั้งปวง  และนำโชคได้ จึงนิยมนำมาใส่ห่วงคล้องคอ  หรือนำมาติดที่หัวแหวน ติดพระ

 

ประดับพระเพื่อเพิ่มความขลัง

เป็นความเชื่อของแต่ละบุคคลว่า  ทองนพคุณสามารถปกป้องคุ้มภัยจากอันรายทั้งปวง และนำโชคได้ จึงนิยมนำมาใส่ห่วงคล้องคอ  หรือนำมาติดที่หัวแหวน  ติดพระ

 

นายนิกร โพธิ์น้อย นายก อบต.ร่อนทอง นำทองที่พบ  ทูลเกล้าฯถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ