Background



วิสัยทัศน์พันธกิจ
วิสัยทัศน์พันธกิจ
1 กรกฎาคม 2567

0


 

วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) และจุดมุ่งหมายการพัฒนาท้องถิ่น

วิสัยทัศน์ “ชุมชนเข้มแข็ง  เศรษฐกิจก้าวหน้า ส่งเสริมประเพณีการศึกษา โครงสร้างพื้นฐานพัฒนา คุณภาพชีวิตดี สิ่งแวดล้อมยั่งยืน”

พันธกิจหลักการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทอง (Mission)

                   พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบันได้กำหนดอำนาจหน้าที่หลักในมาตรา ๖๖ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม  และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทองได้กำหนดหลักที่จะดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้  ดังนี้

                    พันธกิจที่ ๑ พัฒนาด้านการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจ ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

                    พันธกิจที่ ๒ ส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชนให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน สนับสนุนการประกอบอาชีพที่มั่นคง ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

                    พันธกิจที่ ๓ พัฒนาศักยภาพคนและชุมชนให้เข้มแข็ง รักษาประเพณีและวัฒนธรรม สร้างความปรองดองสมานฉันท์ สามารถพึ่งพาตนเองได้ จากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย

                    พันธกิจที่ ๔ พัฒนาคุณภาพการศึกษาในระบบและนอกระบบของชุมชน ให้ได้มาตรฐานการศึกษาของชาติ

                    พันธกิจที่ ๕ พัฒนาปรับปรุงบริการสาธารณสุขให้ได้มาตรฐาน มุ่งเน้นการบริการ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เครื่องมือ เครื่องใช้

                    พันธกิจที่ ๖ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนควบคู่กับวิถีชีวิตชุมชน

                    พันธกิจที่ ๗ ปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ  ประสิทธิภาพในการบริหาร  การมีส่วนร่วมของชุมชน  การจัดการ

                    พันธกิจที่  ๘ ปรับปรุงพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต

 

          เป้าประสงค์

          ๑. แหล่งท่องเที่ยวได้รับการพัฒนา

          ๒. ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

          ๓. ประชาชนมีอาชีพและรายได้พอเพียง  ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

          ๔. ประชาชนมีน้ำเพื่อการบริโภค  อุปโภค  และน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ

          ๕. ประชาชนมีการรวมตัวประกอบกิจการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง

          ๖. ชุมชนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย  ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

          ๗. ผู้ด้อยโอกาส  ผู้สูงอายุได้รับการดูแล

          ๘. ส่งเสริมการศึกษา  อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณี

          ๙. ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า

          ๑๐. สภาพแวดล้อมในตำบลร่อนทองมีความสะอาด  เป็นระเบียบ  สวยงาม  และไร้มลพิษ

          ๑๑. จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ไม่ให้เกิดมลภาวะและมีความยั่งยืน

          ๑๒. การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวธรรมาภิบาล

          ๑๓. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น

          ๑๔. การคมนาคมสะดวก

          ๑๕. ระบบสาธารณูปโภค  สาธารณูปการเพียงพอและทั่วถึง

     ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทอง ประกอบด้วย ๘ ยุทธศาสตร์ ดังนี้

๑. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ ได้กำหนดแนวทางพัฒนา ดังนี้

แนวทางการพัฒนาที่ ๑ พัฒนาปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวและบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มาท่องเที่ยวและรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

แนวทางการพัฒนาที่ ๒ พัฒนาสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามเทศกาลงานประเพณี รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และสุขภาพ

แนวทางการพัฒนาที่ ๓ สนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว  โดยบูรณาการร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานอื่น ๆ

แนวทางการพัฒนาที่ ๔ พัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์  ระบบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยว

แนวทางการพัฒนาที่ ๕ สนับสนุนส่งเสริม  และประสานงานร่วมกับหน่วยงานราชการอื่น  และภาคเอกชนในการพัฒนาการท่องเที่ยว  การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  การโภชนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  และการพัฒนาเศรษฐกิจ

แนวทางการพัฒนาที่ ๖ การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการท่องเที่ยวรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

๒. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมรายได้และการผลิต ได้กำหนดแนวทางพัฒนา ดังนี้

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๑ ส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพที่มั่นคงและมีรายได้เพิ่มขึ้น ตามกระบวนการเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๒ พัฒนาด้านการให้ความรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยี การแก้ไขปัญหาโรคระบาดผลผลิตทางการเกษตรและการกสิกรรม

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๓ ส่งเสริมสนับสนุนการ พัฒนาสินค้า OTOP ทั้งการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์คุณภาพและการจำหน่ายสินค้า

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๔ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งตลาดกลางเพื่อจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรและ กสิกรรมรวมถึงการดูแลราคาผลผลิต

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๕ พัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนการเกษตรแบบยั่งยืนโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แบบชีวภาพและการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษ

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๖ พัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม

๓. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม และคุณภาพชีวิต ได้กำหนดแนวทางพัฒนา ดังนี้

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๑ การพัฒนาและส่งเสริมการกีฬา  และการนันทนาการ  ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสุขภาพ

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๒ การพัฒนาส่งเสริมความมั่นคงเข้มแข็งในชุมชน  และสถาบันครอบครัว

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๓ ส่งเสริมคุณภาพชีวิต  ความเป็นอยู่ของประชาชน  ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีพึ่งพาตนเอง  มีส่วนร่วมในการช่วยคิด  ช่วยทำเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๔ จัดระเบียบสังคมและรักษาความสงบเรียบร้อย

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๕ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๖ พัฒนาระบบป้องกันความปลอดภัยการบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๗ ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการแก้ไขป้องกัน การดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และบรรเทาสาธารณภัยต่าง ๆ โดยส่งเสริมด้านการให้ความรู้ การอบรมแก่ประชาชนในท้องถิ่น อปพร. เป็นต้น

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๘ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการ คุ้มครองเด็กและเยาวชนและการให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุเด็กและผู้ด้อยโอกาสทางสังคม

๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ได้กำหนดแนวทางพัฒนา ดังนี้

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๑ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระบบและนอกระบบของชุมชน  ให้ได้มาตรฐานการศึกษาของชาติรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๒ ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๓ การพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์ฟื้นฟูการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณี  ศิลปะ  วัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่นและกิจกรรมทางศาสนา

๕. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสาธารณสุข ได้กำหนดแนวทางพัฒนา ดังนี้

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๑ พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขให้ได้มาตรฐาน

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๒ การพัฒนาปรับปรุงการบริการสาธารณสุขให้ได้มาตรฐาน  มุ่งเน้นด้านการบริการ  การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร  เครื่องมือ  เครื่องใช้  และอื่น ๆ

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๓ พัฒนาศักยภาพของประชาชนให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและสามารถดูแลตนเองครอบครัว  ชุมชนได้อย่างยั่งยืน

. ยุทธศาสตร์การบริหารการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดแนวทางพัฒนา ดังนี้

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๑ พัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมและใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่                                                   

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๒ สร้างจิตสำนึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๓ จัดระบบการจัดการน้ำเสีย  และการจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน

๗. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารงานให้มีความเป็นเลิศ ได้กำหนดแนวทางพัฒนา ดังนี้

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๑ การพัฒนา  ส่งเสริมให้ผู้บริหาร  บุคลากร  เจ้าหน้าที่ขององค์ กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความรู้  ความสามารถ  และทักษะในการปฏิบัติงาน  ทั้งทางด้านการเมือง  การปกครอง  ระบบประชาธิปไตย  ในรูปแบบบูรณาการ  โดยเชื่อมโยงกับองค์กรเครือข่าย

                    แนวทางการพัฒนาที่ ๒ การส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและบริหารราชการท้องถิ่น  โปร่งใส ปลอดทุจริต และยึดหลักการตามแนวทางการบริหารจัดการที่ดี

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๓ การพัฒนาปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติงานและจัดหาเครื่องมือ  เครื่องใช้ในการปฏิบัติงานการจัดการที่ดี  และความปลอดภัยในการทำงาน  และบริการประชาชนให้เพียงพอมีประสิทธิภาพ

                  แนวทางการพัฒนาที่ ๔ พัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ครอบคลุมทั่วถึงมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม

                    แนวทางการพัฒนาที่ ๕ พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อบริการประชาชน

๘.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาเส้นทางคมนาคม แหล่งน้ำและสาธารณูปโภค ได้กำหนดแนวทางพัฒนา ดังนี้

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๑ การพัฒนาเส้นทางคมนาคม  ให้สามารถใช้ในการสัญจร  ไป – มา  อย่างรวดเร็ว  เชื่อมโยงเส้นทางหลัก  ระหว่างอำเภอ  และตำบล  และปรับปรุงเส้นทางคมนาคมในแหล่งชุมชน  ให้ได้มาตรฐาน  มั่นคงถาวร  และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๒ พัฒนาปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการการขยายให้บริการไฟฟ้า  ประปา

                   แนวทางการพัฒนาที่ ๓ พัฒนาปรับปรุง  แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอุตสาหกรรม  และการอุปโภค  บริโภคให้สอดคล้องกับแผนการป้องกันอุทกภัย

                แนวทางการพัฒนาที่ ๔ การพัฒนาส่งเสริมการจัดทำผังเมือง  รวมจังหวัด และนำระบบผังเมืองมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ